วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การยศาสตร์ คืออะไร


การยศาสตร์ เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยราชบัณฑิตยสถานของไทยในภาษาไทย มาจากการสนธิของคำสองคำ
    คำแรกคือ“การย์” มีความหมายว่า งาน   
    ส่วนคำที่สอง คือ “ศาสตร์” มีความหมายว่า ความรู้ 
ดังนั้น การยศาสตร์ จึงสื่อความหมายถึง องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของมนุษย์ 


สมาคมการยศาสตร์นานาชาติ (International Ergonomics Association, IEA) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ดังนี้ 
การยศาสตร์ คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคน และส่วนต่างๆ ของ ระบบ และความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ ข้อมูล และวิธีการ ในการออกแบบเพื่อทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด และระบบได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การคำนวณอายุร่างกาย (ฺBody Age)

คนเราโดยทั่วไปจะบอกอายุตามอายุที่นับตามวันเดือนปีเกิดซึ่งเรียกว่า "อายุปฏิทิน (Calendar Age)" บางครั้งพบว่าคนที่อายุปฏิทินเท่ากันทำไมบางคนดูแลวแก่กว่าอายุ บางคนดูแล้วอ่อนกว่าอายุที่แท้จริง ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น การดูแลรักษาสุขภาพ การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภค การพักผ่อน เป็นต้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีผู้เสนอแนะวิธีในการวัดอายุที่แท้จริงของร่างกาย หรือเรียกสั้นๆว่า "อายุร่างกาย (Body age)" ขึ้น ซึ่งอายุร่างกาย ก็คือ ตัวเลขที่บอกอายุของร่างกายโดยการวัดจากสมรรถภาพของร่างกายและพฤติกรรม

 เราสามารถใช้วิธีการประเมินอายุร่างกายของเราได้โดยทดสอบสมรรถภาพของร่ายกายและการตอบคำถามต่อไปนี้

จงตอบคำถามข้อ 1-5 เพื่อประเมินอายุร่างกายของคุณ โดยการเพิ่มหรือลดจำนวนปีจากอายุของคุณในปัจจุบัน
1. วัดค่าความยาวรอบสะโพก (A) .........นิ้ว
    ค่าความยาวรอบเอว (B)...................นิ้ว
    คำนวณสัดส่วน  A/B = ……….………..
ถ้าสัดส่วน A/B น้อยกว่า 0.816 ให้ บวก 4 ปี
2. วางนิ้วที่ข้อมือ แล้วนับการเต้นของชีพจรภายใน 10 วินาที แล้วคูณจำนวนการเต้นของชีพจร
ก. ถ้า 54-59 ครั้ง ให้ ลบ 4 ปี 
ข. ถ้า 60-64 ครั้ง ให้ ลบ 2 ปี
ค. ถ้า 65-72 ครั้ง ให้ บวก 1 ปี
ง. ถ้า 73-76 ครั้ง ให้ บวก 2 ปี
จ. ถ้า 77-82+ ครั้ง ให้ บวก 4 ปี

3. นั่งกับพื้น หลังตรง ขา 2 ข้างชิดกัน ยื่นมือทั้งสองไปข้างหน้าอยู่ในระดับไหล่ ทำเครื่องหมายจุดเริ่มต้นที่พื้นโดยวัดจากระยะปลายนิ้วมือ จากนั้นให้ค่อยๆโน้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุดโดยให้ขาเหยียดตรงเสมอ แล้วทำเครื่องหมายจุดสิ้นสุดที่พื้นโดยวัดจากระยะปลายสุดของนิ้วมือที่ทำได้ จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด (วัดเป็นนิ้ว)
ก.     ถ้ามีค่า 0-10 นิ้ว ให้ บวก 3 ปี
ข.     ถ้ามีค่า 10.1-15 นิ้ว ให้ บวก 2 ปี
ค.    ถ้ามีค่า 15.1-16 นิ้ว ให้ ลบ 2 ปี
ง.     ถ้ามีค่า 16.1-19+ นิ้ว ให้ ลบ 3 ปี
4. ทำท่าวิดพื้นโดยให้วางเข่ากับพื้น ทำลำตัวเป็นเส้นตรง แล้วนับจำนวนครั้งของการวิดพื้นที่ทำได้มากที่สุดโดยต้องทำอย่างต่อเนื่อง (ห้ามหยุดพัก) การลงแต่ละครั้งต้องให้หน้าอกห่างจากพื้นประมาณ 4 นิ้ว
ก.         ถ้าได้ 0-30 ครั้ง ให้ บวก 2 ปี
ข.         ถ้าได้ 31-60 ครั้ง ให้ บวก 1 ปี
ค.         ถ้าได้ 61-90 ครั้ง ให้ ลบ 1 ปี
ง.          ถ้าได้ 91+ ครั้ง ให้ ลบ 1 ปี
5. ตอบคำถามต่อไปนี้ แล้วรวมคะแนนที่ได้:
5.1 คุณทานอาหารวันละกี่ครั้ง (รวมของทานเล่น)
ก.         2 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
ข.         3 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
ค.         4 ครั้ง ได้ 3 คะแนน
ง.          5 ครั้ง ได้ 4 คะแนน
5.2 คุณทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือของทอดบ่อยแค่ไหน
ก.         เป็นประจำ (7 หรือมากกว่าต่อสัปดาห์) ได้ 1 คะแนน
ข.         บางครั้ง (4-6 ครั้งต่อสัปดาห์) ได้ 2 คะแนน
ค.         นานๆครั้ง (1-3 ครั้งต่อสัปดาห์) ได้ 3 คะแนน
ง.          ไม่เคยเลย ได้ 4 คะแนน
5.3  คุณทานอาหารหรือของทานเล่นที่มีผลไม้หรือผักบ่อยแค่ไหน
ก.         ไม่เคยเลย ได้ 1 คะแนน
ข.         นานๆครั้ง (1-5 ครั้งต่อสัปดาห์) ได้ 2 คะแนน
ค.         บางครั้ง (6-9 ครั้งต่อสัปดาห์) ได้ 3 คะแนน
ง.          เป็นประจำ (10 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์) ได้ 4 คะแนน
5.4  คุณหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัว และส่วนประกอบที่มีโซเดียม, ไนเตรต, และน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน
ก.         ไม่เคยเลย ได้ 1 คะแนน
ข.         นานๆครั้ง  ได้ 2 คะแนน
ค.         บางครั้ง  ได้ 3 คะแนน
ง.          เป็นประจำ ได้ 4 คะแนน
รวมคะแนนที่ได้ตั้งแต่ข้อ 5.1-5.4 แล้วอ่านค่าด้านล่าง
ก.          0-9 คะแนน ให้ บวก 3 ปี
ข.          10-12 คะแนน ให้ บวก 2 ปี
ค.         13-15 คะแนน ให้ ลบ 2  ปี
ง.          16-17 คะแนน ให้ ลบ 3 ปี
สรุปการคำนวณอายุร่างกาย
อายุปัจจุบัน = …………..……ปี
ใส่ผลประเมินของแต่ละข้อและเครื่องหมาย±ด้วย
ข้อ
1
2
3
4
5
+/-





อายุร่างกาย = อายุปัจจุบัน รวมกับ ค่าที่ได้จากข้อ 1 ถึง 5
              
=  ………………….


 Credit: http://www.wikihow.com/Calculate-Your-Body-Age

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

การตั้งช่วง VDO ที่ต้องการวิเคราะห์ในโปรแกรม Kinovea

ในกรณีที่มีการบันทึก VDO การทำงาน และต้องการตัดช่วงของ VDO ที่ต้องการวิเคราะห์ให้เหลือเฉพาะช่วงสั้นๆที่เราสนใจ ทำได้โดยการตั้งช่วงทำงาน (working zone) ดังนี้
  1.   เปิด VDO ที่ต้องการ
  2.  กดปุ่ม Play เพื่อให้ VDO เล่นไปจนถึงช่วงที่ต้องการ 
  3.  ปุ่มที่ใช้สำหรับการกำหนด Working zone จะอยู่บริเวณซ้ายมือ มีเครื่องหมาย [  ] สีเขียว 
  4.  กดเครื่องหมาย [ เพื่อเป็นการตั้งจุดเริ่มต้น ของการตัด VDO หลังจากนั้น แถบสีเขียวจะตัดมาที่จุดที่ต้องการ ซึ่งหมายถึงการกำหนดจุดเริ่มต้น
  5.  ปล่อยให้ VDO จะเล่นต่อไป จนถึงจุดสิ้นสุดที่เราต้องการ
  6.  กดเครื่องหมาย ] เพื่อเป็นการตั้งจุดสิ้นสุด ของการตัด VDO แถบสีเขียวจะถูกตัดให้สั้นลง เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการเลือก
  7.   หลังจากนั้นเมื่อกด Play จะทำให้ VDO เล่นเฉพาะส่วนที่เราต้องการเท่านั้น
  8.  กรณีที่ต้องการให้ VDO กลับมามีความยาวเท่าเดิม ให้กดปุ่ม |<- b="" nbsp="">


วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน


การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรม Kinovea มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกเมนู View แล้วเลือก เมนูย่อย Two Playback ดังรูปด้านล่าง
จะได้หน้าจอย่อย 2 หน้าจอ ที่จะใช้สำหรับการ Display VDO ดังรูปด้านล่าง

2. จากนั้นเลือกเมนู File แล้วเลือกเมนูย่อย Open VDO file ดังรูปด้านล่าง

แล้วเลือกไฟล์ VDO ที่ต้องการ


ไฟล์ VDO แรกที่เลือกมา จะปรากฎที่หน้าจอด้านซ้าย ดังรูปด้านล่าง

3. จากนั้นไปที่เมนู File อีกครัั้ง และเลือก Open VDO File อีก
แล้วเลือกไฟล์ที่ 2 ที่ต้องการเปิด

เมื่อเลือกเปิดไฟล์แล้วจะเห็นไฟล์ VDO ที่สองเปิดในหน้าต่างด้านขวา
ในกรณีที่ต้องการ เล่น ทั้งสองไฟล์พร้อมกัน สามารถใช้ ปุ่มด้านล่างของหน้าจอ ที่เขียนว่า "Common Controls"


โปรแกรม Kinovea

โปรแกรม Kinovea เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เป็น Open source สามารถ download ใช้งานได้ฟรีได้ที่ http://www.kinovea.org/ การใช้งานโปรแกรม Kinovea จะใช้โดยการวิเคราะห์วิดีโอที่บันทึกท่าทางการปฏิบัติงานของพนักงาน 
ฟังก์ชั่นการใช้งานหลักๆของโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ ประกอบด้วย 
  • การวิเคราะห์วิดีโอ (การดูวิดีโอ การวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหว การขยายภาพในวิดีโอ การสะท้อนภาพ การเคลื่อนไหวย้อนกลับ การวาดภาพและบรรทุกข้อความในจุดสำคัญ เป็นต้น) 
  • การวัด (การสังเกตเส้นทางการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือข้อต่อของร่างกาย  การวัดเวลา การวัดระยะทาง การวัดความเร็ว การส่งข้อมูลออกในรูปแผ่นงาน) 
  • การเปรียบเทียบ (การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน
  • การจับภาพวิดีโอ (การจับภาพหน้าจอ การตั้งค่ากล้อง การบันทึกวิดีโอและภาพจากการจับภาพสด การหน่วงเวลาการเล่นการจับภาพสด) 
  • การเผยแพร่ (การบันทึกภาพ การบันทึกวิดีโอ การบันทึกข้อมูล  การบันทึกวิดีโอที่เน้นภาพสำคัญๆ การบันทึกทั้งภาพและวิดีโอ) 
เลือกหัวข้อย่อย เพื่อดูขั้นตอนของการใช้งาน โดยละเอียด ดังนี้
1. การเล่น 2 VDO ในเวลาเดียวกัน
2. การตั้งช่วง VDO ที่ต้องการวิเคราะห์

นอกเหนือจากขีดความสามารถหลักของโปรแกรม Kinovea ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของท่าทางการปฏิบัติงานของพนักงาน ยังสามารถใช้งานแปรแกรมสำเร็จรูปนี้สำหรับการวัดมุมเพื่อใช้ข้อมูลของมุมที่วัดได้ในการวิเคราะห์ร่วมกับการประเมินอื่นๆ เช่น REBA RULA ชีวกลศาสตร์ เป็นต้น 

Credit : http://www.kinovea.org/