วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

การตั้งช่วง VDO ที่ต้องการวิเคราะห์ในโปรแกรม Kinovea

ในกรณีที่มีการบันทึก VDO การทำงาน และต้องการตัดช่วงของ VDO ที่ต้องการวิเคราะห์ให้เหลือเฉพาะช่วงสั้นๆที่เราสนใจ ทำได้โดยการตั้งช่วงทำงาน (working zone) ดังนี้
  1.   เปิด VDO ที่ต้องการ
  2.  กดปุ่ม Play เพื่อให้ VDO เล่นไปจนถึงช่วงที่ต้องการ 
  3.  ปุ่มที่ใช้สำหรับการกำหนด Working zone จะอยู่บริเวณซ้ายมือ มีเครื่องหมาย [  ] สีเขียว 
  4.  กดเครื่องหมาย [ เพื่อเป็นการตั้งจุดเริ่มต้น ของการตัด VDO หลังจากนั้น แถบสีเขียวจะตัดมาที่จุดที่ต้องการ ซึ่งหมายถึงการกำหนดจุดเริ่มต้น
  5.  ปล่อยให้ VDO จะเล่นต่อไป จนถึงจุดสิ้นสุดที่เราต้องการ
  6.  กดเครื่องหมาย ] เพื่อเป็นการตั้งจุดสิ้นสุด ของการตัด VDO แถบสีเขียวจะถูกตัดให้สั้นลง เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการเลือก
  7.   หลังจากนั้นเมื่อกด Play จะทำให้ VDO เล่นเฉพาะส่วนที่เราต้องการเท่านั้น
  8.  กรณีที่ต้องการให้ VDO กลับมามีความยาวเท่าเดิม ให้กดปุ่ม |<- b="" nbsp="">


วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน


การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรม Kinovea มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกเมนู View แล้วเลือก เมนูย่อย Two Playback ดังรูปด้านล่าง
จะได้หน้าจอย่อย 2 หน้าจอ ที่จะใช้สำหรับการ Display VDO ดังรูปด้านล่าง

2. จากนั้นเลือกเมนู File แล้วเลือกเมนูย่อย Open VDO file ดังรูปด้านล่าง

แล้วเลือกไฟล์ VDO ที่ต้องการ


ไฟล์ VDO แรกที่เลือกมา จะปรากฎที่หน้าจอด้านซ้าย ดังรูปด้านล่าง

3. จากนั้นไปที่เมนู File อีกครัั้ง และเลือก Open VDO File อีก
แล้วเลือกไฟล์ที่ 2 ที่ต้องการเปิด

เมื่อเลือกเปิดไฟล์แล้วจะเห็นไฟล์ VDO ที่สองเปิดในหน้าต่างด้านขวา
ในกรณีที่ต้องการ เล่น ทั้งสองไฟล์พร้อมกัน สามารถใช้ ปุ่มด้านล่างของหน้าจอ ที่เขียนว่า "Common Controls"


โปรแกรม Kinovea

โปรแกรม Kinovea เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เป็น Open source สามารถ download ใช้งานได้ฟรีได้ที่ http://www.kinovea.org/ การใช้งานโปรแกรม Kinovea จะใช้โดยการวิเคราะห์วิดีโอที่บันทึกท่าทางการปฏิบัติงานของพนักงาน 
ฟังก์ชั่นการใช้งานหลักๆของโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ ประกอบด้วย 
  • การวิเคราะห์วิดีโอ (การดูวิดีโอ การวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหว การขยายภาพในวิดีโอ การสะท้อนภาพ การเคลื่อนไหวย้อนกลับ การวาดภาพและบรรทุกข้อความในจุดสำคัญ เป็นต้น) 
  • การวัด (การสังเกตเส้นทางการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือข้อต่อของร่างกาย  การวัดเวลา การวัดระยะทาง การวัดความเร็ว การส่งข้อมูลออกในรูปแผ่นงาน) 
  • การเปรียบเทียบ (การเปรียบเทียบ 2 วิดีโอในเวลาเดียวกัน
  • การจับภาพวิดีโอ (การจับภาพหน้าจอ การตั้งค่ากล้อง การบันทึกวิดีโอและภาพจากการจับภาพสด การหน่วงเวลาการเล่นการจับภาพสด) 
  • การเผยแพร่ (การบันทึกภาพ การบันทึกวิดีโอ การบันทึกข้อมูล  การบันทึกวิดีโอที่เน้นภาพสำคัญๆ การบันทึกทั้งภาพและวิดีโอ) 
เลือกหัวข้อย่อย เพื่อดูขั้นตอนของการใช้งาน โดยละเอียด ดังนี้
1. การเล่น 2 VDO ในเวลาเดียวกัน
2. การตั้งช่วง VDO ที่ต้องการวิเคราะห์

นอกเหนือจากขีดความสามารถหลักของโปรแกรม Kinovea ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของท่าทางการปฏิบัติงานของพนักงาน ยังสามารถใช้งานแปรแกรมสำเร็จรูปนี้สำหรับการวัดมุมเพื่อใช้ข้อมูลของมุมที่วัดได้ในการวิเคราะห์ร่วมกับการประเมินอื่นๆ เช่น REBA RULA ชีวกลศาสตร์ เป็นต้น 

Credit : http://www.kinovea.org/

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับงานด้านการยศาสตร์


การประเมินด้านการยศาสตร์ในหลายวิธีจำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูล หรือหลักการที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประเมินทางด้านการยศาสตร์ ซึ่งช่วยให้การประเมินมีความสะดวกและ ช่วยให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยองค์กรต่างๆ ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ 
  • ErgoFellow 
  • ErgoEASER 
  • Kinovea 

เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

Network of Ergonomics Societies Conference 2012

บทความที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการทางด้านการยศาสตร์ระหว่างประเทศ 
(Network of Ergonomics Societies Conference 2012) 
(SEANES), 2012 Southeast AsianSEANES2012 

Date 9-12 July 2012